3 กุมภาพันธ์ 2554

บทความเรื่อง เด็กสมาธิสั้น (รายวิชาแบบเรียนรวม)

นางสาวเกศฎาภรณ์ สัมฤทธิ์สกุลชัย

รหัสนิสิต 52010516063 2ETC

สุขใจกับเด็กสมาธิสั้น

เด็กสมาธิสั้น มักทำให้คนใกล้ชิดปวดหัวได้มาก เนื่องจากเขาจะขาดทักษะหลายประการที่เด็กอื่นๆมี เช่น การควบคุมตนเอง การคิดก่อนทำ การยับยั้งชั่งใจตนเอง ความรับผิดชอบ การบริหารเวลา และการมีวินัย ปัญหาในการรักษาส่วนหนึ่งเกิดจากการที่พ่อแม่และครูอาจารย์ที่เกี่ยวข้อง ไม่สามารถเลี้ยงดูฝึกฝนทักษะต่างๆที่ขาดอยู่ การฝึกทำได้ยาก ต้องใช้เวลา และใช้เทคนิควิธีการที่ได้ผล การฝึกทักษะต่างๆ ที่ผมจะกล่าวถึงต่อไปนี้ รวบรวมจากประสบการณ์หลายปีในการให้คำแนะนำพ่อแม่ ครูอาจารย์ในการรักษาเด็กและวัยรุ่นที่เป็นโรคสมาธิสั้น เลือกวิธีการต่างๆโดยประยุกต์หลักวิชาการเปลี่ยนแปลงแก้ไขและสร้างพฤติกรรม จากทฤษฎีต่างๆ พ่อแม่และครูที่ลองปฏิบัติแล้ว ได้ผลดีทำให้สามารถมีความสุขใจกับเด็กสมาธิสั้นในเวลาต่อมาได้

หลักการเบื้องต้น สำหรับการฝึกทักษะเด็กสมาธิสั้น

การช่วยเหลือเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นนั้น นอกจากแพทย์จะให้ยากินเพื่อให้มีสมาธิในการเรียนแล้ว พ่อแม่และครูมีส่วนช่วยอย่างมาก ในการฝึกทักษะหลายประการที่เด็กสมาธิสั้นยังขาดอยู่ ซึ่งการขาดทักษะเหล่านั้น แสดงออกมาเป็นพฤติกรรมต่างๆที่ทำให้หนักใจ เช่น ดื้อ ซน พูดไม่ฟัง ไม่มีระเบียบวินัย ไม่คิดก่อนทำ ไม่รอบคอบ ประมาทเลินเล่อ เอาแต่ใจตัวเอง การแก้ไขพฤติกรรมต่างๆนั้น ส่วนใหญ่จะยากลำบาก การฝึกทักษะที่ดีให้เกิดขึ้นก่อนจึงมีความสำคัญมาก เพื่อป้องกันเด็กสมาธิสั้นมีพฤติกรรมไม่ดีจนติดเป็นนิสัยไปจนโต การฝึกทักษะมักต้องใช้เวลานาน เป็นเดือนหรือเป็นปี ต้องอาศัยความอดทน ความเอาจริงเอาจัง ความสม่ำเสมอและร่วมมือของพ่อแม่อย่างมาก เด็กปกติทั่วๆไปนั้นมักฝึกพฤติกรรมได้เร็ว แต่เด็กสมาธิสั้นจะฝึกยาก ฝึกแล้วลืมง่าย ในระยะแรกๆพ่อแม่จึงไม่ควรคาดหวังผลเร็ว ไม่ควรเปรียบเทียบผลของการฝึกพฤติกรรมเด็กสมาธิสั้นกับเด็กทั่วๆไป การฝึกควรจะเริ่มตั้งแต่เด็กอายุน้อยไปสิ้นสุดเมื่อเด็กโตเป็นวัยรุ่นตอนปลายเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ถ้าต้องการประเมินผลการฝึก ควรเปรียบเทียบผลที่เกิดกับตัวเด็กเองโดยติดตามระยะยาว จะเห็นความสำเร็จชัดเจนขึ้นทีละน้อย โดยจะพบว่าเด็กมีพฤติกรรมที่ดีมากขึ้น และบ่อยขึ้นจนในที่สุดกลายเป็นนิสัยที่ดี และกลายเป็นบุคลิกภาพที่ดีติดตัวอย่างถาวรเมื่อพ้นจากวัยรุ่นเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ หลังจากนั้นการพัฒนาทักษะที่ดีเพิ่มเติมขึ้นอีก จะเกิดขึ้นได้ แต่จะเกิดขึ้นจากการพัฒนาจากภายในตัวเอง ในระหว่างวัยเด็กนี้ พ่อแม่และครูจึงเป็นผู้ช่วยสำคัญ ที่จะ ฝึกฝนส่งเสริมให้เด็กสมาธิสั้นมีทักษะเบื้องต้น เพื่อเป็นพื้นฐานต่อการพัฒนาตนเองในระยะยาวต่อไป

ก่อนเริ่มต้น เตรียมใจ ตามขั้นตอน ดังนี้

-ขั้นแรก เข้าใจอาการต่างๆของเด็กสมาธิสั้น ช่วยให้ทำใจยอมรับพฤติกรรมหลายประการที่อาจแตกต่างจากเด็กอื่นอย่างมาก

-ขั้นต่อมา ทำใจยอมรับว่า การฝึกต่อไปนี้ต้องใช้ความพยายาม ความอดทนอย่างสูงในการฝึก และเวลานานพอสมควรกว่าจะเห็นผลชัดเจน

-ขั้นที่สาม ตั้งใจฝึกอย่างสม่ำเสมอ ความสำเร็จอยู่ที่การเอาจริง

ทำไมถึงต้องฝึกทักษะ

อาการของโรคสมาธิสั้นนั้นเริ่มแสดงให้เห็นตั้งแต่เด็กอายุน้อย แต่จะเริ่มวินิจฉัยได้ในวัยอนุบาล หรือเมื่อเริ่มเข้าวัยเรียนชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 1 (6-7 ขวบ) อาการของโรคจะเห็นชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ และดำเนินต่อไปจนเมื่อเด็กเข้าสู่วัยรุ่น อาการซน อยู่ไม่นิ่งจะน้อยลง เมื่ออายุมากขึ้น แต่อาการสมาธิสั้นจะยังคงมีอยู่ เด็กบางคนสามารถปรับตัวได้กับอาการขาดสมาธินี้ ด้วยการทำอะไรหลายๆอย่างในช่วงเวลาเดียวกัน เพื่อลดความเบื่อหน่าย แต่ในที่สุดงานก็เสร็จเหมือนกัน การพยายามปรับตัวบางอย่างได้ผลจะช่วยให้เขาปรับตัวได้ แต่อาการหลายๆอย่างของเด็กสมาธิสั้น แสดงออกเป็นพฤติกรรมไม่เหมาะสม เช่น วู่วาม หุนหันพลันแล่น เวลาโกรธแล้วก้าวร้าวรุนแรงขาดการยั้งคิด ไม่มีระเบียบวินัย นึกอยากจะทำอะไรก็ทำโดยไม่ยั้งคิด ขาดการวางแผน พฤติกรรมเหล่านี้ต้องแก้ไขก่อนจะติดเป็นนิสัย การฝึกทักษะหลายอย่างที่เด็กสมาธิสั้นขาดอยู่ จะช่วยให้เขามีพฤติกรรมเหมาะสม ปรับตัวได้ดี พฤติกรรมดี นิสัยดี เรียนได้ดีเต็มความสามารถที่แท้จริง เป็นที่รักของพ่อแม่ญาติพี่น้อง เป็นที่ยอมรับของเพื่อนๆ และป้องกันปัญหาพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่างๆ

เมื่อเด็กเข้าสู่วัยรุ่น การตอบสนองของยาอาจลดลง แพทย์มักจะลดยาและหยุดยาได้ในช่วงวัยรุ่นนี้ การปรับตัวในวัยรุ่นจะดีหรือไม่ ขึ้นกับการฝึกทักษะต่างๆที่ผ่านมา ถ้าฝึกได้ดี วัยรุ่นจะควบคุมตัวเองได้โดยไม่ต้องใช้ยา การฝึกทักษะต่างๆตั้งแต่เด็กอายุน้อยจึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อการปรับตัวในวัยต่อมา และช่วยให้ดำเนินชีวิตได้ดีในวัยผู้ใหญ่

ปัญหาพฤติกรรมของเด็กสมาธิสั้น

ปัญหาพฤติกรรมหลัก

เด็กสมาธิสั้นมักจะมีปัญหาพฤติกรรมมากกว่าเด็กทั่วๆไป ซึ่งเป็นปัญหาจากอาการหลักของโรคสมาธิสั้น 3 ประการ คือ

1. ซน อยู่ไม่นิ่ง เคลื่อนไหวตลอดเวลา ติดเล่น ไม่ใส่ใจการเรียน

2. ขาดสมาธิ จะไม่สามารถจดจ่ออยู่กับการทำงานได้นาน ทำงานไม่สำเร็จ เบื่อง่าย ขาดความตั้งใจที่จะทำ ไม่รับผิดชอบการทำงาน ขี้ลืม

3. ขาดการยับยั้งใจตนเอง ทำตามใจตนเอง หุนหันพลันแล่น ขาดการยั้งคิด ทำไปด้วยอารมณ์ สับเพร่า ประมาท เลินเล่อ ทำงานบกพร่องผิดพลาด ดื้อ ก้าวร้าวเกเร มีพฤติกรรมเสี่ยงอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น

ปัญหาพฤติกรรมที่พบร่วม

เนื่องจากเด็กสมาธิสั้นมีอาการที่รบกวนผู้อื่น ยากแก่การเลี้ยงดู ทำให้เกิดปฏิกิริยาทางลบจากพ่อแม่และครูมาก ทำให้เกิดปัญหาการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมตามมา เช่น การเอาใจตามใจหรือช่วยเหลือเด็กมากเกินไป การดุด่าว่ากล่าวลงโทษรุนแรง หรือการไม่เอาจริงปล่อยเด็กเกินไป ในที่สุดกลายเป็นปัญหาพฤติกรรมต่างๆ ดังต่อไปนี้

- การตามใจเด็กมากเกินไป ทำให้เด็กขาดการควบคุมตนเอง ขาดความเป็นตัวของตัวเอง ไม่คิด ไมวางแผนการให้เป็นระบบ เอาแต่ใจตัว ทำตามอารมณ์ตนเอง ไม่ฟังใคร เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง

- การช่วยเหลือเด็กมากเกินไป ทำให้เด็กช่วยตัวเองไม่เป็น บริหารเวลาไม่เป็น ทำอะไรด้วยตัวเองไม่ได้ ขาดความมั่นใจตนเอง ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในทางที่ดี ไม่แก้ปัญหาเอง พึ่งพาผู้อื่น หลบเลี่ยงปัญหา ขาดทักษะพื้นฐานในการปรับตัว

- การดุด่า ตำหนิ ประณาม ประจาน ลงโทษมากเกินไป ทำให้อารมณ์ไม่มั่นคง หงุดหงิดง่าย มองตนเองไม่ดี มองโลกในแง่ร้าย ขาดความภูมิใจตนเอง ขาดความกล้าคิดริเริ่มในทางสร้างสรรค์ เก็บกดความโกรธความก้าวร้าว และอาจแสดงออกเป็นความก้าวร้าวต่อผู้อื่น อาจกลายเป็นพฤติกรรมเกเรเมื่อโตขึ้น

- การปล่อยเด็กเป็นอิสระเกินไป ทำให้เด็กขาดระเบียบวินัย ขาดการควบคุมตนเอง ขาดทักษะส่วนตัว ขาดทักษะสังคม เอาแต่ใจตนเอง ตัดสินใจแบบขาดการยั้งคิด ตัดสินใจด้วยอารมณ์ ไม่ปรับตัวเข้าหาผู้อื่น ไม่อยู่ในกรอบกติกาของสังคม

ปัญหาพฤติกรรมเด็กเหล่านี้ ถ้าไม่แก้ไขต่อไปจะกลายเป็นปัญหาบุคลิกภาพที่ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต

เด็กสมาธิสั้นมีปัญหาพฤติกรรมมาก ต้องการการฝึกอย่างต่อเนื่องระยะยาว

ประเภทของทักษะที่ควรฝึก

ทักษะที่จำเป็นต้องฝึกแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1. ทักษะส่วนตัว เช่น ทักษะในการช่วยเหลือตัวเอง ทักษะในการควบคุมตนเอง ทักษะใน

การคิด การวางแผน การทำให้ได้ตามแผน การรอคอย ทักษะในการรู้และจัดการกับอารมณ์โกรธ

2. ทักษะสังคม เช่น ทักษะในการสื่อสาร การทำงานร่วมกัน ทักษะในการเข้าสังคมทางบวก การให้การรับ การช่วยเหลือผู้อื่น การทำตัวให้เป็นประโยชน์ การควบคุมตนเองให้อยู่ในกฎเกณฑ์ของสังคม การรู้ผิดชอบชั่วดี และควบคุมตนเองให้ประพฤติดี ความรับผิดชอบต่อส่วนรวม

การวางแผนการฝึก

ทักษะต่างๆที่พ่อแม่ควรฝึกให้แก่ลูกสมาธิสั้น มีหลายประการ ควรเลือกฝึกตามปัญหาจริง ก่อนการฝึก พ่อแม่ควรสังเกตว่าลูกมีปัญหาในทักษะข้อใด ทั้งนี้เนื่องจากเด็กสมาธิสั้นบางคนมีปัญหาพฤติกรรมหลายอย่าง ทักษะบางอย่างจะเป็นพื้นฐานของทักษะอื่น การฝึกในระยะแรก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนก่อน แพทย์จะช่วยวิเคราะห์ได้ว่าเด็กมีทักษะใดที่ดีอยู่แล้ว ควรฝึกทักษะใดอีกบ้าง และควรเลือกฝึกข้อใดก่อน การเลือกวิธีฝึกและขั้นตอนในการฝึกที่ดี จะช่วยให้ฝึกได้ง่าย

- พ่อแม่ร่วมมือกันวางแผนการฝึก ให้ได้วิธีที่ตกลงร่วมกัน

- ก่อนการฝึก มีการพูดคุยตกลงกันล่วงหน้ากับลูก ว่าจะทำอะไร ทำไปทำไม เริ่มเมื่อใด ลองปฏิบัติถึงเมื่อใดแล้วจึงจะประเมินผล

- ให้ลูกมีส่วนร่วมในการวางแผน แต่อยู่ในกรอบกติกาที่เหมาะสม ในวัยรุ่นอาจมีรับฟังความคิดเห็นมากขึ้นกว่าเด็ก อาจมีการประนีประนอมมากขึ้น ให้เขามีส่วนร่วมในการวางแผนและตั้งข้อกำหนดกติกาต่างๆ

- ชมเมื่อเริ่มทำด้วยตัวเอง ชมความพยายาม ความตั้งใจ ไม่ควรชมสิ่งที่ไม่เป็นความ จริง

- พยายามจูงใจให้ทำมากกว่าการบังคับให้ทำ

- ในกรณีที่ไม่สามารถทำตามที่วางแผนไว้ได้ ให้วิเคราะห์สาเหตุทันที พยายามแก้ไขและทำให้ได้ตามที่วางแผนจนถึงเวลาที่กำหนดไว้

- เมื่อถึงเวลาที่กำหนดไว้ มีการประเมินผล อาจมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขแผนการในช่วงเวลาต่อไป สรุปชมข้อดีของเด็ก วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคหรือโอกาสพัฒนา เพื่อวางแผนขั้นตอนต่อไป

- พ่อแม่ประสานงานกับครู ฝึกเด็กให้สอดคล้องและส่งเสริมกัน

การช่วยเหลือตนเอง

ทักษะในการช่วยตัวเอง พึ่งตนเอง ทำอะไรได้ด้วยตนเองนั้น เป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญ ที่จะช่วยให้เด็กมีการพัฒนาทักษะอื่นๆ เช่น การควบคุมตนเอง ความรับผิดชอบ การช่วยเหลือผู้อื่น และทำให้วุฒิภาวะทางอารมณ์ดีขึ้น เด็กปกติจะเริ่มต้นช่วยตัวเองได้ตั้งแต่อายุ1 ปีขึ้นไป เด็กจะเริ่มเคลื่อนไหวได้มากขึ้นกว่าเดิม เริ่มเดินได้ พูดได้ สื่อสารได้ มีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น

การฝึกให้ช่วยตัวเองได้ตามวัย เริ่มฝึกได้ตั้งแต่วัยเตอะแตะ(1-2 ขวบ)ไปจนถึงวัยอนุบาล(3-6 ขวบ) เด็กควรจะถูกฝึกให้ช่วยตัวเองเรื่องส่วนตัวง่ายๆ เช่น การอาบน้ำ แปรงฟัน แต่งตัว สวมใส่เสื้อผ้า ใส่รองเท้าถุงเท้า รับประทานอาหาร จัดเก็บเสื้อผ้า รองเท้า ข้าวของส่วนตัว ของเล่น ให้เป็นที่เป็นทาง เด็กที่ช่วยตัวเองได้จะมีทักษะในการควบคุมกล้ามเนื้อ การใช้มือกับสายตาที่ประสานกันคล่องแคล่ว เริ่มมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สามารถควบคุมตัวเองได้ และสามารถฝึกให้มีทักษะอื่นๆได้ง่าย

ในวัยประถมศึกษา เด็กควรช่วยตัวเองได้มากขึ้น สามารถตื่นนอนเองได้ จัดตารางเวลาเองได้เป็นส่วนใหญ่ จัดตารางสอนและเตรียมของใช้ส่วนตัวเอง จัดเตรียมเสื้อผ้าสำหรับวันรุ่งขึ้น เวลาใกล้สอบมีการวางแผนเตรียมตัวดูหนังสือได้ด้วยตัวเอง เวลาจะไปไหนมีการวางแผนเตรียมตัวล่วงหน้าได้

เมื่อถึงวัยรุ่น เด็กควรจะวางแผนล่วงหน้าเกี่ยวกับตัวเองได้ รับผิดชอบตัวเองได้เกือบเหมือนผู้ใหญ่ ไม่ต้องคอยบอกให้ทำในเรื่องกิจวัตรประจำวัน วัยรุ่นสามารถรับผิดชอบข้าวของส่วนตัว มีการจัดเก็บข้าวของเงินทองอย่างมีระเบียบ วางแผนการใช้เวลา แผนการใช้เงินได้อย่างดี และสามารถควบคุมตัวเองให้ทำตามแผนการได้ มีเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาวของตัวเอง มีแนวทางการเรียนต่อและ อาชีพของตนเอง และกำกับตัวเองให้ทำได้สำเร็จตามที่วางแผนไว้

การฝึกเรื่องช่วยตัวเองนี้มีความสำคัญ เนื่องจากเด็กสมาธิสั้นส่วนใหญ่จะขาดทักษะเรื่องนี้ และฝึกได้ยากกว่าเด็กทั่วไป การฝึกต้องใช้เวลานานกว่าจะได้ผล และควรฝึกตั้งแต่อายุน้อย ถ้าขาดทักษะพื้นฐานนี้ พ่อแม่จะฝึกทักษะอื่นๆต่อไปได้ยาก ปัญหาที่พบบ่อยๆคือ พ่อแม่คิดว่าไม่จำเป็นต้องฝึก บางคนคิดว่าเอาไว้ฝึกทีหลัง บางคนสงสารเด็กไม่อยากให้ลำบาก บางคนไม่เห็นความสำคัญเลย ทำให้เมื่อโตขึ้นฝึกได้ยากมากกว่า การที่เด็กไม่ได้ฝึกให้ช่วยตัวเองนั้น สภาพจิตใจอารมณ์ก็จะยังเหมือนเด็กที่ยังไม่โต ความคิดและอารมณ์จะมีลักษณะเหมือนเด็กคือเอาแต่ใจตัวเอง ไม่รู้จักการอดทนฝืนใจตัวเองบังคับใจตนเอง ไม่รู้จักต่อสู้เอาชนะความลำบาก แก้ปัญหาในชีวิตด้วยตัวเองไม่ได้ โตขึ้นจึงมีแนวโน้มที่จะแก้ไขปัญหาด้วยอารมณ์เหมือนเด็กๆ เวลาถูกขัดใจอาจแสดงอารมณ์มาก หรือแสดงความก้าวร้าวโดยขาดการควบคุม ทำให้เกิดพฤติกรรมเกเร ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา

ถ้าพ่อแม่ฝึกทักษะนี้ได้ให้ลูกได้ ทักษะอื่นๆจะสามารถฝึกได้ง่ายเช่นกัน การฝึกทักษะนี้จึงเปรียบเหมือนบันไดก้าวแรกที่สำคัญสำหรับการฝึกทักษะอื่นๆต่อไปพ่อแม่ควรมีความรู้ว่าวัยใดควรช่วยตัวเองได้แค่ไหน และฝึกให้ทำได้ตามนั้น

วัยขวบปีแรก ยังช่วยตัวเองไม่ได้ แต่เมื่ออายุ 6-12 เดือนสามารถฝึกให้รอคอยช่วงสั้นๆ เช่น เมื่อหิว เมื่ออุจจาระหรือปัสสาวะ เมื่อร้องและต้องการให้ช่วยเหลือ

วัยก่อนอนุบาล บอกความต้องการตนเองง่ายๆ ฝึกให้กลั้นอุจจาระปัสสาวะ และถ่ายให้เป็นที่ทาง

วัยอนุบาล อาบน้ำแปรงฟัน แต่งตัว สวมเสื้อกางเกง สวมร้องเท้า ผูกเชือกร้องเท้า รับประทานอาหารด้วยตนเอง นอนเองคนเดียว ช่วยเหลืองานบ้านง่ายๆ

วัยประถม ตื่นนอนเอง ทำการบ้านด้วยตนเอง ใช้เงินเป็น เก็บเงินได้ จัดเสื้อผ้ากระเป๋า ช่วยงานบ้านสม่ำเสมอ

วัยมัธยม วางแผนเวลา การเรียน กิจกรรม การคบเพื่อน งานรับผิดชอบ ด้วยตัวเอง

การสื่อสาร

การสื่อสารเป็นหัวใจสำคัญในการฝึกทักษะอื่นๆ เด็กสมาธิสั้นหลายคนที่ขาดทักษะนี้ จากลักษณะของโรคสมาธิสั้นของตัวเด็กเอง หรือจากการเลี้ยงดูที่ผ่านมามีปัญหากันมาก เนื่องจากอาการของโรคสมาธิสั้นที่เด็กมักทำผิดจนถูกดุถูกว่าถูกตำหนิถูกลงโทษ เสมอๆ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับเด็กไม่ดี เนื่องจากเด็กมักกลัวว่าจะถูกดุถูกว่า เลยไม่กล้าพูดกล้าบอกพ่อแม่ ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อมีปัญหาในการสื่อสาร มักจะเกิดปัญหาอื่นๆตามมาได้ เช่น พ่อแม่ไม่สามารถติดตามความเป็นไปของเหตุการณ์ เมื่อเกิดปัญหาเล็กๆไม่ได้แก้ไขกลายเป็นปัญหาใหญ่ เด็กไม่สามารถระบายความทุกข์ใจได้ ปิดบังความผิดไว้ อาจกลายเป็นการโกหกเพื่อปิดบังความผิด หรือหลบเลี่ยงปัญหา เป็นต้น

จุดอ่อนของเด็กสมาธิสั้นอีกประการ คือ เด็กสมาธิสั้นไม่สมารถจัดการกับข้อมูลข่าวสารได้อย่างเป็นระบบ ทำให้ไม่สามารถเรียบเรียงเหตุการณ์ได้ จึงไม่สามารถสื่อสารให้คนเข้าใจเรื่องราวได้นั่นเอง

นอกจากนี้ในการฝึกทักษะอื่นๆ การสื่อสารจะเป็นสะพานเชื่อมระหว่างพ่อแม่และเด็ก ให้ทราบถึง ความคิด ความคาดหวัง ความต้องการ ความรู้สึก ของกันและกัน ทำให้เกิดความเข้าใจกัน มองกันในแง่ดี ประนีประนอมโอนอ่อนเข้าหากัน ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี ซึ่งเป็นหัวใจของการพัฒนาในตัวเด็ก

- การฝึกทักษะการสื่อสารที่ดี เริ่มต้นได้ตั้งแต่แรกเกิด ถึงเด็กจะยังพูดไม่ได้ แต่เด็กเรียนรู้คำพูดที่พ่อแม่พูดกับเขาได้

- เด็กเรียนรู้ภาษากายของพ่อแม่ เช่นการอุ้ม การกอด การกล่อมนอน แสดงถึงความรักความเอาใจ

ใส่ สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานสำคัญของการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี และจะทำให้มีสื่อสารที่ดีตามมาด้วย

· เมื่อเด็กเริ่มหัดพูด ควรพยายามฟังและทำความเข้าใจ

· เมื่อเด็กเริ่มเล่น ควรเล่นกับเด็ก การสนุกสนานกับเด็ก เป็นการสื่อสารทางอารมณ์ที่จำเป็นต้องมี เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี

· เมื่อเด็กเริ่มพูดเป็นประโยคยาวๆ ควรฟังอย่างตั้งใจ และคอยให้เด็กพูดจบก่อน ถ้ามีการพูดผิด ทำให้ไม่เข้าใจ หรือเข้าใจผิด พ่อแม่ควรสอนการเรียบเรียงคำพูดให้ฟังรู้เรื่อง แสดงแบบอย่างสั้นๆให้สื่อสารได้ตรงจุด เด็กจะเลียนแบบการพูดของพ่อแม่

· เมื่อเด็กถาม พ่อแม่ควรสนใจและตอบให้เพียงพอต่อความสามารถในการรับรู้ของเด็ก ในเด็กเล็กตอบสั้นๆง่ายๆ และถามกลับไปบ้างเพื่อกระตุ้นให้เด็กคิด เมื่อเด็กตอบได้ดี ควรชื่นชม

· พ่อแม่ควรพยายามชวนคุย ให้เด็กเล่าเรื่องเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านไป เช่นเมื่อตะกี้นี้ ลูกเล่นอะไรกับเพื่อน” “เมื่อกี้นี้ ลูกเห็นอะไรเกิดขึ้น บนถนนที่ผ่านมา

· ในการสนทนา ใช้เทคนิคการสำรวจความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมเช่นวันนี้มีอะไรเกิดขึ้น ที่ประทับใจลูก(ความคิด) ....... ลูกรู้สึกอย่างไร(ความรู้สึก)................ แล้วลูกทำอะไร(พฤติกรรม).............................

· เมื่อเด็กไปโรงเรียนกลับมา ควรชวนให้เล่าเรื่องสนุกๆที่เกิดขึ้น (อย่าพยายามถามถึงเรื่องร้ายๆ ที่ทำให้เขาถูกดุก่อน)

- ก่อนเด็กอ่านหนังสือได้เอง พ่อแม่ควรอ่านให้เด็กฟัง ทำให้เด็กสนุกกับการฟัง และมีความอยากอ่าน

ด้วยตัวเอง

- เมื่อเด็กอ่านได้ ให้เด็กลองเล่าสิ่งที่เขาอ่าน หรือลองเล่าต่อให้น้อง หรือคนอื่นๆ

- ชมเชยการสื่อสารที่ดี ช่วยแก้ไขการสื่อสารที่ไม่ถูกต้อง

- ฝึกคำพูดสื่อสารที่เป็นพฤติกรรมสังคมทางบวก ได้แก่ขอโทษ ขอบคุณ สวัสดี ขออนุญาต ฯลฯให้ ติดตัวจนเป็นนิสัย พ่อแม่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีด้วย เมื่อพ่อแม่ทำผิดเอง การขอโทษไม่ใช่เรื่องเลวร้าย แต่จะเป็นตัวอย่างที่ดีว่า เมื่อทำผิดแล้ว มีการยอมรับความผิดได้ และมีความพยายามจะป้องกันแก้ไขมิให้เกิดขึ้นอีก

- ในบ้านควรใช้คำพูดที่สุภาพ อ่อนโยน จริงใจ

- พ่อแม่ควรหลีกเลี่ยง การสื่อสารที่รุนแรงกัน เช่นการทะเลาะด้วยอารมณ์ การเหน็บแนมประชด ประชัน เสียดสี

- หลีกเลี่ยงการบ่น พูดมาก ท้าวความหลังความผิดเก่าๆ เมื่อเกิดปัญหารีบหาข้อบกพร่อง และแก้ไขโดยเร็ว

- พ่อแม่เป็นตัวอย่างของการสื่อสารที่ดีต่อลูก มีการรับฟังกัน บอกความต้องการของตัวเองได้อย่างชัดเจน ใช้คำพูดที่ง่าย สื่อความหมายตรง ไม่เป็นอารมณ์กัน

การฝึกทักษะการสื่อสารนี้ ควรทำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเด็กที่พูดน้อย ไม่ค่อยกล้าแสดงออก พ่อแม่ไม่ควรหงุดหงิดหรือโกรธที่เด็กไม่กล้าในระยะแรก ท่าทีพ่อแม่ที่ใจเย็นและเปิดโอกาสเสมอจะช่วยให้เด็กกล้าขึ้น พ่อแม่อย่าลืมชื่นชมเมื่อเด็กกล้าแสดงออก แม้ว่าจะยังไม่ดีนักในระยะแรก

28 สิงหาคม 2553

ขนาดภาพ & มุมกล้อง

ขนาดภาพ & มุมกล้อง

ขนาดภาพจัดว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากอย่างหนึ่งในการถ่าย ภาพยนตร์ เพราะภาพสามารถถ่ายทอดความรู้สึกของนักแสดง บอกเล่าเรื่องราวต่างๆให้กับผู้ชมได้เข้าใจถึงเนื้อหาของภาพยนตร์ ขนาดภาพจึงเป็นตัวกำหนดสิ่งที่ต้องการนำเสนอ ว่าต้องการให้ผู้ชมเห็นรือไม่เห็นสิ่งใดในฉากองค์ประกอบต่างๆเหล่านี้เกิด ขึ้นจากผู้สร้างภาพยนตร์ ที่จะเลือกตั้งกล้องในมุมใด ระยะห่างจากสิ่งที่ถ่ายเท่าใด และใช้ภาพขนาดใดเป็นตัวบอกเล่าเรื่อง ขนาดภาพจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากที่จะต้องเรียนรู้พอๆกับเรื่องอื่น ในการสร้างภาพยนตร์

1. ภาพไกลมาก (Extreme Long Shot หรือ ELS)

ขนาดภาพลักษณะนี้กล้องจะตั้งอยู่ไกลจากสิ่งที่ถ่ายมาก ซึ่งภาพที่ได้จะเป็นภาพมุม-กว้าง ผู้ชมสามารถมองเห็นองค์-ประกอบของฉากได้ทั้งหมด สามรถมองเห็นสิ่งที่ถ่ายได้เต็มสัดส่วน แม้สิ่งที่ถ่ายนั้นจะมีขนาดเล็กก็ตาม ซึ่งภาพลักษณะนี้ จะใช้เป็นภาพแนะนำ-สถานที่ เหมาะสำหรับการปูเรื่อง เริ่มเรื่อง ซึ่งภาพยนตร์ในต่างประเทศนิยมใส่ไตเติ้ลส่วนหัวไว้ในฉากประเภทนี้ตอนที่ภาพ ยนตร์ริ่มเข้าเนื้อเรื่อง
ภาพขนาดไกลนี้จะสร้างความรู้สึกโอ่อ่า อลังการ แสดงออกถึงความใหญ่โตของสถานที่ ความน่าเกรงขาม ความยิ่งใหญ่ และยังสามารถสร้างความประทับใจรวมถึงสร้างความประทับใจให้กับผู้ชมได้อีก ด้วย
เช่น กลุ่มเรือโจรสลัดกำลังแล่นเรือออกสู่ทะเลกว้างโดยมีเรือของหัวหน้าโจรสลัด แล่นออกเป็นลำหน้า ตามด้วยกลุ่มเรือลูกน้องอีกนับ 10ลำ โดยใช้ภาพขนาดไกลมาก ตั้งกล้องในมุมสูงทำให้ผู้ชมเห็นถึงความยิ่งใหญ่และน่าเกรงขามของโจรสลัด กลุ่มนี้
เป็นต้น

2. ภาพไกล (Long Shot หรือ LS)

ขนาดภาพแบบนี้ไม่สามารถกำหนดระยะห่างระหว่างกล้องกับสิ่งที่ถ่ายได้ แต่จะกำหนดโดยประมาณว่าสิ่งที่ถ่ายจะอยู่ในกรอบภาพ (Frame) พอดี ถ้าเป็นคน ศีรษะจะพอดีกับกรอบภาพด้านบน ส่วนกรอบภาพด้านล่างก็จะพอดีกับเท้า หรือบางครั้งก็อาจจะเหลือขอบเฟรมด้านบนและล่างไว้บ้าง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละซีน ซึ่งขนราดภาพลักษณะนี้สามารถเห็นบุคลิก
อากัป กิริยาการแสดง การเคลื่อนไหว ตำแหน่งที่อยู่ในการแสดงหรือในฉาก ด้วยเหตุนี้จึงสามารถใช้เป็นภาพแนะนำตัวละคร หรือเริ่มฉากใหม่ได้ บางครั้งอาจใช้เป็นภาพในฉากเริ่มเรื่องได้เช่นเยวกันกับภาพขนาดไกลมาก และบางครั้งภาพขนาดไกลยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เอสทาบริชชิง ช็อต (Establishing Shot) ส่วนองค์ประกอบรอบข้างผู้ชมจะได้เห็นรายละเอียดชัดเจนมากขึ้น

3. ภาพปานกลาง Medium Shot หรือ MS)

ขนาดภาพลักษณะนี้ถ้าเป็นภาพบุคคล ผู้ชมจะได้เห็นตั้งแต่เอวของนักแสดงขั้นไปจนถึงศีรษะ ขนาดภาพแบบนี้ผู้ชมสามารถเห็นการเคลื่อนไหวของนักแสดง และรายละเอียดของฉากหลังพอสมควร ซึ่งพอที่จะเข้าใจเรื่องราวต่างๆได้ จึงถือได้ว่าเป็นภาพที่ถ่ายทอดเหตุการณ์ในเรื่องได้ดีขนาดภาพปานกลาง เป็นขนาดภาพที่นิยมใช้มากที่สุด เพราะใช้เป็นภาพเชื่อมต่อ กล่าวคือ การเปลี่ยนขนาดภาพจากภาพไกลมาเป็น
ภาพไกล้หรือจากภาพใกล้มาเป็นภาพไกลก็ตาม จะต้องเปลี่ยนมาเป็นภาพขนาดปานกลางเสียก่อน ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ขัดต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้ชมเนื่องจากภาพจะกระโดด นอกจากนี้ภาพขนาดปานกลางยังนิยมใช้ถ่ายภาพบุคคล 2 คนในฉากเดียวกัน หรือที่เรียกกันว่า ภาพ Two Shot ซึ่งนิยมใช้กันมาก ในภาพยนตร์บันเทิง


4. ภาพใกล้ (Close-Up หรือ CU, Close Shot หรือ CS)

ภาพใกล้ ผู้ชมจะมองเห็นนักแสดงตั้งแต่ไหล่ขึ้นไป เป็นขนาดภาพที่ผู้ชมสามารถเข้าถึงอารมณ์ของนักแสดงได้มากที่สุด เพราะการใช้ภาพขนาดใกล้ถ่ายบริเวณใบหน้าของนักแสดง จะสามารถภ่ายถอดรายละเอียด เกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึกที่อยู่ภายในของนักแสดงได้อย่างชัดเจนมาก นอกจากนี้ยังจะทำให้ผู้ชมได้รู้สึกใกล้ชิดกับสิ่งที่ถ่ายอีกด้วยทั้งนี้ เพื่อทำให้เข้าใจถึงรายละเอียดของวัตถุต่างๆ ตามเนื้อหาที่กำลังนำเสนอ และ
ภาพขนาดใกล้นี้ยังสามารถบังคับให้ผู้ชมสนใจในวัตถุที่กล้องกำลังถ่าย หรือสิ่งที่กำลังนำเสนอ


5. ภาพใกล้มาก (Extreme Close-Up Shot หรือ ECU, Big Close-Up Shot หรือ BCU)

เป็นภาพที่ถ่ายในระยะใกล้มากๆ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเน้นสิ่งที่ถ่าย เพื่อให้ผู้ชมเห็นรายละเอียดของวัตถุ หรือเพื่อเพิ่มความเข้าใจในกรณีที่วัตถุมีขนาดเล็กมากๆ เช่น การถ่ายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือช่าง อาวุธเป็นต้น หรือถ้าถ่ายใบหน้านักแสดง ก็เพื่อเป็นการเน้นอารมณ์ของนักแสดงเช่น จับภาพที่ดวงตาของนักแสดง ทำให้เห็นน้ำตาที่กำลังใหลออกจากดวงตา เป็นต้นและทั้งหมดนี้ก็เป็นขนาดภาพที่นิยมนำมาถ่ายทอดเรื่องราวของภาพยนตร์ ซึ่งตมความเป็นจริงแล้ว เราสามารถที่จะประยุกต์หรือดัดแปลงขนาดภาพไปเป็นอย่างอื่นก็ไม่ได้ผิดอะไร เพียงแต่ทั้งหมดนี้เป็นขนาดภาพสากลที่ทำให้เรา (ทีมงานถ่ายทำภาพยนตร์) เข้าใจตรงกันว่าต้องการให้ภาพออกมาในลักษณะใดเท่านั้น นอกจากนี้อารมณ์และความรู้สึกที่ผู้ชมจะได้รับขณะชมภาพยนตร์ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดภาพเพียงย่างเดียว แต่ต้องอาศัยองค์ประกอบของภาพยนตร์อื่นๆ เข้ามาเป็นตัวช่วยเสริมความน่าเชื่อถือ และความเป็นภาพยนตร์มากยิ่งขึ้น

มุมกล้อง (Camera Angle)

มุมกล้องจัดว่าเป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งของการจัดองค์ประกอบเพื่อการถ่า ภาพยนตร์ ซึ่งจะสัมพันธ์กับขนาดภาพด้วย หากสังเกตุจากบทภาพยนตร์โดยทั่วไปนั้น จะเห็นว่า รายละเอียดเรื่องของขนาดภาพและมุมกล้องต้องถูดเขียนมาควบคู่กัน ซึ่งบางครั้งอาจจะรวมถึงลักษณะการเคลื่อนที่ของกล้องอีกด้วย มุมกล้องเกิดจากความสัมพันธ์กันระหว่างระดับการตั้งกล้องภาพยนตร์กับวัตถุ ที่ถ่าย การเลือกใช้มุมกล้องในระดับต่างๆจะทำให้เกิดผลด้านภาพ ที่แตกต่างกันไป รวมถึงอารมณ์ความรู้สึกของผู้ชมที่จะแตกต่างกันออกไปด้วย หากจะแบ่งมุมกล้องในระดับต่างๆโดยเริ่มจากระดับสูงก่อนสามารถแบ่งได้ดังนี้

1. มุมกล้องระดับสายตานก (Bird's eye view)

เป็นการตั้งกล้องในระดับเหนือศีรษะหรือเหนือวัตถุที่ถ่าย ภาพที่ถูกบันทึก
จะเหมือนกับภาพที่นกมองลงมาด้านล่าง เมื่อผู้ชมเห็น ภาพแบบนี้จะทำ
ให้ดูเหมือนกำลังเฝ้ามองเหตุการณ์จากด้านบน มุมกล้องในลักษณะนี้
จะทำให้ผู้ชมรู้สึกเหมือนตกอยู่ในสถานการณ์ที่ช่วยเหลือ
ตัวเองไม่ได้ เวิ้งว้าง ไร้อำนาจ ตกอยู่ในภาวะคับขัน ไม่มีทางรอด
เพราะตามหลักความเป็นจริงแล้วมนุษย์เราจะเคยชินกับการยืน นั่ง นอน เดิน
หรือใช้ชีวิตส่วนใหญ่บนพื้นโลกมากกว่าที่จะเดินเหินยู่บนที่สูง และด้วยความ
ที่มุมภาพในระดับนี้ไม่สามารถมองเห็นรายละเอียดในฉากได้ครบ
เพราะเป็นภาพที่มองตรงลงมา จึงทำให้ภาพรู้สึกลึกลับ น่ากลัว เหมาะกับ
เรื่องราวที่ยังไม่อยากเปิดเผยตัวละครหรือเป็นภาพยนตร์สยองขวัญ

2. มุมกล้องระดับสูง (Hight Angle)

ตำแหน่งของกล้องมุมมนี้จะอยู่สูงกว่าสิ่งที่ถ่าย การบันทึกภาพในลักษณะนี้
จะทำให้เห็นรายละเอียดของเหตุการณ์ทั้งด้านหน้าและด้านหลังเท่ากันโดย
ตลอด จึงทำให้ภาพในระดับนี้มีความสวยงามทางด้านศิลปะมากกว่าภาพใน
ระดับอื่น นอกจากนี้สิ่งที่ถูกถ่ายด้วยกล้องระดับนี้มักจะทำให้ผู้ชมรู้สึกว่าสิ่งที่
ถ่ายมีความต่ำต้อย ไร้ค่า ไร้ความหมาย สิ้นหวัง ความพ่ายแพ้

3. มุมกล้องระดับสายตา (Eye Level)

มุมล้องในระดับนี้เป็นมุมกล้องในระดับสายตาคน ซึ่งเป็นการเลียนแบบมา
จากการมองเห็นของคน ซึ่งโดยส่วนใหญ่คนเราจะมองออกมาในระดับสายตา
ตัวเอง ทำให้ภาพที่ผู้ชมเห็นรู้สึกมีความเป็นกันเอง เสมอภาค และเหมือน
ตัวเองได้เข้าไปอยู่ในเหตุการณ์นั้นด้วยแต่รายละเอียดของภาพในระดับนี้จะ
สามารถมองเห็นได้แต่ด้านหน้าเท่านั้น

4. มุมกล้องระดับต่ำ (Low Angle)

เป็นการตั้งกล้องในระดับที่ต่ำกว่าสิ่งที่ถ่าย เวลาบันภาพต้องเงยกล้องขึ้น
ภาพมุมต่ำนี้ก็มีอิทธิพลต่อความรู้สึกของผู้ชมได้เช่นเดียวกัน
ซึ่งจะทำให้ผู้ชมรู้สึกว่าสิ่งที่ายนั้นมีอำนาจ มีค่า น่าเกรงขาม มีความยิ่งใหญ่
ซึ่งจะตรงข้ามกับภาพมุมสูง นิยมถ่ายภาพโบราณสถาน สถาปัตยกรรม
แสดงถึงความสง่างาม ชัยชนะ และใช้เป็นการเน้นจุดสนใจของภาพได้ด้วย

ภาพถ่ายแบบ Extreme Long Shot

ภาพถ่ายแบบ Long Shot

ภาพถ่ายแบบ Medium Shot

ภาพถ่ายแบบ Close Up

15 มิถุนายน 2553

....พูดแล้วอยากร้องไห้....

อยู่ที่เรา......."ลูกเกด" 2ETC

ดีไม่ดี...อยู่ที่ใจเราหัวเราะ...เมื่ออยากหัวเราะร้องไห้...

เมื่ออยากร้องไห้และต้องหัวเราะให้ได้หลังร้องไห้ทุกครั้ง!

อย่าทำอะไรที่ไม่อยากทำ...จงทำอะไรที่ใจอยากทำ...!

ตัวหนังสือ...เขียนผิด...ลบได้การกระทำ...ทำผิด...เอาอะไรลบ นึกว่าหมากำลังไล่ฟัดซิ...!...จะได้รีบวิ่งรี่เข้าเส้นชัย......

ล้มเมื่อไหร่จะได้รีบลุก... ทุกย่างก้าว ของ ความฝัน คือ ย่างก้าวของ ความเหน็ดเหนื่อยทุกย่างก้าว ของ

ความเหน็ดเหนื่อย คือ ก้าวย่าง ของ ความสำเร็จต่อให้ทุกข์ที่สุด....ก็ต้องผ่านพ้นไปจนได้เมื่อเรานั่งมองอดีต

เรายังผ่านทุกข์มาได้ตั้งหลายทุกข์ก็ในเมื่อ..ชีวิต...มันยังมีชีวิตขอแค่อย่าทุกข์ก่อนเจอทุกข์หลังทุกข์

อย่าทุกข์อีกให้ทุกข์ แค่ตอนทุกข์แล้วทุกข์ที่สุด...ก็จะเป็น ทุกข์ แค่นี้เอง!

ให้ทำหน้าที่ทุกหน้าที่ด้วยหัวใจให้หัวใจตระหนักในหน้าที่....

แล้วเราจะไม่รู้สึกว่าหน้าที่เป็นหน้าที่แต่เป็นการกระทำที่เกิดจาก...หัวใจเรียกร้อง...ต่างหาก

ดีไม่ดี...อยู่ที่ใจเรา...ถ้าใจเรา...คิดดี เราก็จะเจอแต่สิ่งดีๆถ้าเรามองในทางที่ดี...

ใจเราก็จะรู้สึกดีถ้ากำลังใจดี...สิ่งเลวร้าย...ก็จะคลี่คลายเป็น...ดี!

....อยู่ที่เรา....

15/06/53